วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

และแล้วก็ถึงเวลาที่รอคอยกัน...การคลอดลูก


ก่อนคลอด เรื่องที่คุณแม่ท้องแรกมักจะกังวลใจ หนึ่งในหลายๆ เรื่องคือเรื่องการคลอดนั่นเอง บ้างได้ยินมาว่าตอนคลอดจะเจ็บมาก คลอดลำบาก ต้องมีท่าทางในการคลอด ต่างๆ นานา ซึ่งการจะคลอดลูกง่ายหรือยากนั้น จริงๆ แล้วมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องแรกควรทราบอย่างยิ่งค่ะ

ปัจจัยแรก

ขึ้นอยู่กับอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ว่ามีขนาดได้มาตรฐานหรือไม่ หากเล็กไปการคลอดก็จะยากขึ้น อย่างไรก็ดี ก่อนคลอดแพทย์ก็จะวัดขนาดของกระดูกอุ้งเชิงกรานในช่วงอายุครรภ์ของแม่แล้ว ซึ่งพอจะบอกได้ว่าขนาดของอุ้งเชิงกรานใช้ได้หรือไม่ หากมีปัญหา แพทย์ที่ทำการคลอดจะได้หาหนทางแก้ไขต่อไป


ปัจจัยที่สอง

ขึ้นอยู่กับขนาดของทารก หากทารกมีขนาดใหญ่มากกว่า 3,500 กรัม การคลอดก็จะยากขึ้นหรืออาจคลอดตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะจะมีความเสี่ยงมาก แพทย์อาจจะพิจารณาวิธีผ่าคลอดให้แม่เป็นทางเลือก


อยากคลอดง่ายทำไงดี

- ควรพยายามดูแลตัวเองให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด เช่น อาบน้ำอุ่น พักผ่อนมากขึ้น หรืออาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางประคบหลังเพื่อช่วยคลายปวด แต่ไม่ควรกินยาแก้ปวด

-
ไม่ควรอั้นปัสสาวะนานๆ การที่กระเพาะปัสสาวะว่าง จะมีผลช่วยให้การคลอดเป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจากไม่เกิดอุปสรรค์กีดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก

-
หากรู้สึกหิว ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ หรืออาหารว่างเบา ๆ ไม่ควรทานอาหารหนักเต็มมื้อ เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะใช้เวลาในการย่อยนาน ยิ่งหากมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้นระหว่างการคลอด จะเป็นอุปสรรคในการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น ไม่สามารถให้ยาสลบได้

-
ควรใช้เวลาที่พักระหว่างการเจ็บครรภ์อย่างคุ้มค่า โดยการนอนให้นิ่งและสงบอารมณ์ เพื่อเก็บพลังไว้ใช้ในการคลอด

-
หากคุณแม่ยังสามารถลุกเดินได้ อาจจะลุกเดินรอบ ๆ เตียงบ้างก็ได้ หรือขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากการเกร็งตัว

-
หากรู้สึกว่าต้องการระงับอาการปวด ควรบอกแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแล

-
พยายามควบคุมการหายใจเข้า ออก ตามวิธีที่พยาบาลในห้องคลอดแนะนำ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สบายขึ้น

 









บริหารร่างกายให้คลอดง่าย

การ บริหารร่างกายก่อนการคลอดเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้คุณแม่คลอดง่าย ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของคุณแม่แข็งแรง และช่วยคลายอาการปวดเมื่อยอีกด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่ต้องบริหารร่างกายอย่างไรบ้าง


1. บริหารกล้ามเนื้อขา สะโพกและข้อเท้า

เป็นท่าที่ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขา สะโพก และเท้าของคุณแม่ดีขึ้น
โดย การนั่งพิงหมอน เหยียดขาตรง วางมือข้างลำตัว กระดกเท้าทั้งสองข้างขึ้นลงสลับกัน โดยให้ส้นเท้าวางอยู่กับที่ ขณะกระดกเท้าขึ้นหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกเมื่อกดปลายเท้าลง ทำวันละ
8 - 10 ครั้งค่ะ

จากนั้นนั่งท่าเดียวกัน กด ปลายเท้าลง หมุนปลายเท้าและข้อทั้งสองข้างเป็นวงกลม ให้ส้นเท้าอยู่กับที่ ไม่งอเข่าค่ะ โดยหมุนปลายเท้าเข้าหาตัวเอง เมื่อครบรอบแล้วปลายเท้าจะอยู่ในลักษณะกระดกขึ้น แล้วให้หมุนปลายเท้าออกเมื่อครบรอบ ปลายเท้าจะอยู่ในลักษณะกดลง ทำสลับกัน 8 - 10 ครั้งค่ะ


2. บริหารกล้ามเนื้อต้นขา

เป็นท่า ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขายืด ขยาย มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการนั่งขัดสมาธิวางฝ่ามือตรงเข่า หายใจเข้าหลังตรง และหายใจออกทำ 8 - 10 ครั้ง จากนั้นนั่งขัดสมาธิประกบฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ดึงส้นเท้าชิดตัว มือทั้งสองรองอยู่ใต้หัวเข่า เท้าชิดตัว ใช้มือทั้งสองที่สอดใต้เข่าทั้งสองข้างดันเข่าพร้อมกับสูดลมหายใจเข้า แล้วเปลี่ยนเป็นใช้ฝ่ามือกดเข่าลงช้า ๆ พร้อมกับหายใจออก ทำ 8 - 10 ครั้ง


3. บริหารกล้ามเนื้อสีข้าง

ช่วย ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อสีข้าง ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และหายใจได้สะดวกขึ้นค่ะ โดยการนั่งขัดสมาธิ ชูมือขวาขึ้นเหนือศีรษะให้มากที่สุด หลังยืดตรง เอียงตัวมาทางซ้ายให้มากที่สุดพร้อมหายใจเข้า กลับมานั่งตรงตามเดิม และหายใจออกสลับข้างเป็นยกมือข้างซ้าย ทำเช่นเดียวกัน 8 - 10 ครั้ง


4. บริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดอุ้งเชิงกราน และฝีเย็บ

ช่วย ให้ฝีเย็บยืดขยายสามารถควบคุมได้ง่าย โดยการขมิบ และคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ ช่องคลอด ทวารหนัก และช่องปัสสาวะ ขณะขมิบให้หายใจเข้า และขณะคลายให้หายใจออก


5. บริหารกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง

ช่วย ให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และบรรเทาอาการปวดหลัง โดยการที่คุณแม่อยู่ในท่าคลาน แขนเท้าพื้นเหยียดตรง หายใจเข้าพร้อมกับโก่งหลังขึ้น ก้มศีรษะ แล้วหายใจออกพร้อมกับแอ่นหลังลงและยกศีรษะขึ้น


6. บริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างหน้าท้องและอุ้งเชิงกราน

เป็น ท่าที่มีประโยชน์สำหรับการคลอดเพราะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนล่างยืดขยายและมี ความยืดหยุ่น ทั้งยังลดอาการปวดหลังได้ดี โดยการนอนหงายกับพื้น ชันเข่าแยกขาห่างจากกันเล็กน้อย วางแขนทั้งสองข้างชิดลำตัวสูดหายใจเข้า กลั้นไว้พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อสะโพก ต้นขา และหน้าท้อง แอ่นหลังขึ้น โดยไหล่และสะโพกแนบติดพื้น หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับกดหลังให้ติดพื้นตามเดิม

คุณแม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว เคลื่อนไหวได้สะดวก และอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท นอกจากนี้ การบริหารครั้งแรกควรทำเพียง 10 - 5 นาที วันละ 1 - 2 ท่า เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว หลังจากนั้นค่อยเพิ่มเป็นวันละ 30 - 40 นาที วันละ 4 - 5 ท่า แต่ถ้าหากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยต้องรีบหยุดทันทีนะคะ



 วิดีโอคลอดแบบธรรมชาติ



วิดีโอการคลอดลูกแบบผ่าตัด



 

ข้อควรปฏิบัติของสตรีหลังการคลอดบุตร

ตั้งแต่สตรีเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตร จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายแก่สตรีผู้นั้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อต้องทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอดบุตร ให้แข็งแรง จะต้องแนะนำการปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วย
          1.หลังการคลอดบุตรโดยธรรมชาติ สตรีหลังคลอดบุตรควรจะใช้ผ้าพันรัดหน้าท้องตลอด เวลา จะใส่ด้วยยาสมุนไพรที่หน้าท้องด้วยก็ได้ เป็นการกระชับหน้าท้องและ ป้องกันมดลูกไม่ให้ห้อยย้อย แต่กลับเข้าอู่ได้เร็ว ในรายที่คลอดบุตรด้วยการ ผ่าออกทางหน้าท้องไม่ควรทำ ให้อยู่ในวินิจฉัยของแพทย์
          2.ควรดื่มน้ำมะขามเปียกใส่เกลือทุกวัน เพื่อป้องกันท้องผูก เพราะความบอบช้ำจากการคลอดบุตร แผลบริเวณฝีเย็บ ทำให้ให้ขับถ่ายลำบาก
          3.สตรีหลังคลอดบุตรควรจะนอนพักผ่อนให้มาก ไม่ควรนั่งหรือเดินมาก และควรเดินช้างๆ ก้าวสั้นๆ แบบขาต่อขา เพื่อมิให้กระทบกระเทือนมดลูก แผลที่ปากช่องคลอดและรอยฝีเย็บ
          4.ห้ามสระผมตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเรือนไฟ (30 – 40 วัน) เพราะต่อมใต้สมองจะต้องสั่งการในการขับของเสีย เช่น น้ำคาวปลา การสระผมทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ระบบการไหลเวียนโลหิตก็ช้าลง หลังคลอดร่างกายต้องการความอบอุ่นมาก จึงควรงดเว้นการสระผมเพื่อมิให้เกิดผลเสียขึ้นภายหลัง การที่น้ำคาวปลาไม่ ไหล อาจทำให้เลือดตีย้อนกลับ เป็นโรคประดงเลือดหรือระบบน้ำเหลืองเสียได้ ถ้า อาการคันศีรษะหรือมีกลิ่นเหม็น ให้ใช้แป้งฝุ่นสำหรับทารกโรยที่โคนผม แล้ว แปรงหวีให้ทั่วศีรษะ เป็นการสระแห้ง ซึ่งในสมัยโบราณก็ใช้แป้งดินสอพองโรย ทั่วศีรษะแล้วหวีผมเช่นกัน
           5.ต้องอาบน้ำอุ่นเสมอ จะใช้น้ำต้มกับตะไคร้ หรือใบแจง หรือใบสาวหลง เพื่อให้ร่างกายมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นคาวหลงเหลืออยู่
           6.ทุกครั้งที่มีการปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระ ควรจะล้างทำความสะอาดไปทางด้านหลัง ไม่ควรล้างมาด้านหน้า เพราะจะทำให้เปื้อนแผลที่ปากช่องคลอด นอกจากสกปรกแล้วยังทำให้ติดเชื้อได้ อีกด้วย
           7.ต้องทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือนั่งแช่น้ำอุ่นที่ละลายด่างทับทิมวันละ 2-3 ครั้ง แล้วเช็ดให้แห้งด้วยสำลี
           8.ต้องทำความสะอาดหัวนม และบริเวณเต้านมด้วยทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังจากที่ให้ลูกดูดนม ถ้ามีน้ำนมมากควรให้ลูกได้ดูด หรือปั๊มออกใส่ขวดไว้ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนม และป้องกันการปวด คัดที่เต้านม ถ้าปวดตึงเต้านมมากพยายามอดทนแล้วหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ และหายใจออก ทำอย่างช้าจะลดอาการได้บ้าง หากทนไม่ไหว ทานยาพาราเซตามอน 1 เม็ดก็ได้
           9.อาหารของสตรีหลังคลอดควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ทั้งมารดาและทารก ควรคำนึ่งถึงตลอดเวลา เพราะอาหารบางชนิดอาจทำให้ทารกท้องเสียได้
         10.การห้นมแก่ทารก ต้องอยู่ในท่าที่เหมาะสม สะดวกในการดื่มนม สร้างความอบอุ่นให้แก่ทารกด้วยสัมผัสจากผู้เป็นแม่ และไม่เกิดอันตรายแก่ทารก เช่น ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือเกิดการสำลักได้ การให้ลูกดื่มนมทันทีที่แม่มีน้ำนมและแข็งแรง สร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกอย่างมาก และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วด้วย
1        11.สตรีหลังการคลอดบุตร ควรจะได้รับการดูแลสุขภาพด้วยการอยู่ไฟ การประคบ การนวด การนาบหม้อเกลือ การเข้ากระโจม และอื่น ๆ ให้ครบทุกขั้นตอน
          12.สตรีหลังการคลอดบุตร ควรบริหารร่างกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม เพื่อให้คืนสภาพร่างกายเป็นปกติ
          13.หลังการคลอดบุตร ควรนอนคว่ำโดยหาหมอนนิ่ม ๆ รองบริเวณหน้าท้อง เพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ถ้าคลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้องให้อยู่ใน ดุลยพินิจของแพทย์
    14.ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ โดยจะต้องนั่งดื่มเท่านั้น และดื่มทุกครั้งหลังจากการให้นมแก่ลูก เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย รวมทั้งการดื่มน้ำหลังจากทำการนวด ประคบ อบสมุนไพร หรือกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการดูแลสุขภาพหลังการคลอดบุตรทุกอย่า

 ที่มา / แหล่งอ้างอิง


http://women.sanook.com/mom-baby/newmom/newmom_16349.php
http://www.nitikathailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538685732&Ntype=3
http://www.youtube.com/watch?v=nryr4SSP0ec&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=RGF4pzGfvM4&feature=related

ปัญหาที่คุณแม่กลัว ระหว่างการคลอด


การเจ็บท้องคลอดและการคลอด

 เป็นเรื่องธรรมดาที่คุณแม่ตั้งครรภ์มักรู้สึกกลัวการเจ็บท้องคลอดค่ะ
แต่คุณแม่ทราบไหมว่า ความรู้สึกเดียวที่คุณจะสัมผัสได้ทันทีที่คลอดและ
ได้เห็นลูกน้อยครั้งแรก ก็คือความปลาบปลื้มและความรักที่มากจนทำให้คุณลืม
ความเจ็บไปได้ทันที เรามีคำแนะนำต่างๆ มากมายนับตั้งแต่การวางแผน
การคลอด ไปจนถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในขณะคลอดและหลังคลอด

ความกังวลต่างๆเกี่ยวกับการคลอด

เป็นเรื่องปกติที่คุณแม่ตั้งครรภ์จะรู้สึกกังวลใจอย่างมากเกี่ยวกับการคลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับท้องแรก อย่างไรก็ตาม ถึงแม้คุณแม่จะรู้สึกเจ็บปวดในขณะคลอด แต่ธรรมชาติก็ได้ออกแบบร่างกายและระบบทุกอย่างเป็นอย่างดี นั่นก็คือ เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งของความเจ็บปวด ร่างกายของแม่จะหลั่งสารเอ็นดอร์ฟินออกมา เพื่อช่วยให้คุณแม่สามารถต่อสู้กับความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี


 วิธีสร้างความมั่นใจ

  เมื่ถึงเวลานี้ คุณแม่อาจจะมีคำถามนับล้านข้อเกี่ยวกับระยะต่างๆ ของการคลอด และสิ่งที่จะเกิดขึ้นในขณะคลอด แน่นอนว่าสิ่งที่เราไม่รู้ มักทำให้รู้สึกเครียดและกังวลใจ แต่จริงๆ แล้ว คุณอาจจะรู้มากกว่าที่คุณกังวลก็ได้
 ลองทบทวนแผนการคลอด  อีกครั้ง เพราะสิ่งที่จะช่วยทำให้คุณแม่เกิดความมั่นใจได้ดีที่สุดก็คือการเตรียมตัวให้พร้อม  อีกทั้งบทความเรื่องระยะการคลอดสามระยะ  ที่เรานำเสนอนี้อาจเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ด้วยเช่นกัน และที่สำคัญ คุณแม่ไม่ควรเก็บความรู้สึกวิตกกังวลใจไว้เพียงคนเดียว ควรปรึกษาพูดคุยกับสามีหรือสูติแพทย์เกี่ยวกับความรู้สึกวิตกกังวลที่มีอยู่ในใจได้ค่ะ


 

ทางเลือกในการบรรเทาความเจ็บปวด


การดมยา

ก๊าซชนิดนี้เรียกอีกอย่างว่าเอนโทนอกซ์ ( Entonox) เป็นก๊าซที่ประกอบด้วยออกซิเจนและไนตรัสออกไซด์ในอัตราร้อยละ 50-50 ใช้สำหรับสูดดมผ่านท่อหายใจทางปาก เป็นก๊าซที่ไร้สี ไร้กลิ่น และลดอาการปวดจากการหดรัดตัวของมดลูก คุณแม่สามารถใช้ก๊าซชนิดนี้สำหรับบรรเทาความเจ็บปวดเมื่อคลอดที่บ้านหรือคลอดในน้ำ และยัง สามารถควบคุมการใช้งานได้ด้วยตัวเองและใช้ได้ในทุกระยะระหว่างการคลอด นอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับทางเลือกในการบรรเทาความเจ็บปวดอื่น ๆ ได้ง่าย อีกทั้ง ก๊าซชนิดนี้จะอยู่ในร่างกายได้ไม่นานและไม่เป็นอันตรายต่อลูกน้อยของคุณ

ทั้งนี้ หากคุณแม่ใช้การดมยาเป็นเวลานาน จะ ทำให้รู้สึกเหนื่อยมาก ดังนั้น อาจต้องใช้ร่วมกับทางเลือกในการบรรเทาความเจ็บปวดอื่นๆด้วย

วิธีนี้จะให้คุณเริ่มสูดดมยาได้ทันทีที่คุณรู้สึกว่าเริ่มมีการหดรัดตัวของมดลูก ถ้ารอจนกระทั่งมีการหดรัดตัวของมดลูก แล้วค่อยเริ่ม จะทำให้รู้สึกเจ็บมาก และ ไม่ได้ประโยชน์แต่อย่างใด การดมยาอาจทำให้มีอาการปากแห้งหรือรู้สึกเจ็บคอได้
 


ยาเพธิดีน

ยาแก้ปวดชนิดนี้เป็นยาที่ได้จากการสังเคราะห์มอร์ฟีนซึ่งมีประโยชน์หลายอย่างดังนี้
ใช้เวลาในการออกฤทธิ์ประมาณ 20 นาที
สามารถให้ยาเพธิดีนด้วยวิธีฉีดหรือให้ยาผ่านสายน้ำเกลือ

แพทย์มักให้เพธิดีนร่วมกับยาอื่นเพื่อระงับความปวดที่อาจเกิดขึ้น และสามารถให้ยาได้เฉพาะในระยะแรกของการเจ็บครรภ์หรือก่อนที่ปากมดลูกจะเปิดเต็มที่
เพธิดีนสามารถชะลอการเจ็บครรภ์ได้ แต่ถ้าให้ยานี้ก่อนคลอด จะมีผลต่อการหายใจและการกินอาหารของลูกน้อย และทำให้ลูกง่วงซึม หากจำเป็น แพทย์อาจฉีดยาให้แก่ลูกของคุณเพื่อคลายฤทธิ์ของยาชนิดนี้ ดังนั้นคุณแม่จึงไม่ต้องกังวลเรื่องผลของฤทธิ์ยา

เมพทิด

คุณแม่สามารถใช้ยานี้ได้เมื่อต้องการลดความเจ็บปวดจากการหดรัดตัวอย่างรุนแรงของมดลูก และยามักเริ่มออกฤทธิ์ในเวลาเพียง 15 นาที คุณแม่สามารถรับยานี้เมื่อไหร่ก็ได้ระหว่างระยะแรกของการเจ็บครรภ์ เมพทิดมีประโยชน์เช่นเดียวกับเพธิดีน แต่ไม่มีผลต่อการหายใจของลูกน้อยมาก เท่ากับเพธิดีน อย่างไรก็ตาม ยาชนิดนี้ อาจทำให้คุณรู้สึกวิงเวียนและ / หรือ คลื่นไส้อาเจียนได้   เนื่องจากเมพทิดไม่ได้เป็นยาทั่วไป จึงต้องตรวจสอบกับสูติแพทย์ก่อนว่าโรงพยาบาลที่คุณคลอดลูกมียาชนิดนี้หรือไม่

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังสามารถช่วยให้ผู้หญิงร้อยละ 90 ไม่รู้สึกเจ็บปวดจากการหดรัดตัวของมดลูก และเนื่องจากการระงับปวดวิธีนี้ไม่ทำให้วิงเวียนศีรษะหรือมึน งง คุณแม่จึงสามารถลุก นั่ง ยืน เดินได้ตามปกติหลังการคลอดลูก การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังนี้เป็นการให้ยาระงับความรู้สึกเฉพาะที่ ( เช่นเดียวกับที่ทันตแพทย์ใช้ ) แพทย์จะฉีดยาชาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง หรือให้ยาผ่านสายน้ำเกลือ โดยที่คุณแม่สามารถเลือกหรือควบคุมเวลาได้

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังสามารถช่วยให้คุณแม่คลอดลูกได้อย่างราบรื่น จึงไม่ต้องกังวลเรื่องผลข้างเคียง ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่สามารถใช้ทางเลือกในการบรรเทาความเจ็บปวดชนิดนี้ได้ อย่างปลอดภัย ซึ่งน่าจะใช้ได้อย่างปลอดภัยสำหรับคุณด้วยเช่นกัน ถ้าต้องการใช้ทางเลือกในการบรรเทา ความเจ็บปวดวิธีนี้ ให้ตรวจสอบกับโรงพยาบาลว่ามีวิสัญญีแพทย์หรือไม่ 
 

จะได้รับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเมื่อใด

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะได้รับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเมื่อปากมดลูกเปิดประมาณ 5-6 เซนติเมตรและมดลูกหดรัดตัว มาก ถ้าปากมดลูกเปิดมากกว่านี้ อาจสายเกินไปที่จะฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง และสูติแพทย์อาจแนะนำให้คุณแม่ใช้ทางเลือกในการบรรเทาความเจ็บปวดวิธีอื่น
 

ผลข้างเคียงของการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังอาจทำให้การเจ็บครรภ์นานขึ้น โดยเฉพาะในระยะเบ่งคลอด ถ้าฤทธิ์ของการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังยังมีอยู่ สูติแพทย์อาจจะต้องบอกให้คุณแม่เบ่งคลอดในช่วงระยะที่สองของการเจ็บครรภ์ ดังนั้น คุณแม่จึงควรปรึกษากับสูติแพทย์ว่าต้องการให้ฤทธิ์ของการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังหมดฤทธิ์เมื่อเข้าสู่ระยะที่สองของการเจ็บครรภ์หรือไม่ เพื่อที่คุณแม่จะได้รู้สึกถึงการหดรัดตัวของมดลูกและเบ่งคลอดได้ดีขึ้น

ผลข้างเคียงอีกอย่างหนึ่งคือ บางครั้งอาจขัดขวางการเคลื่อนตัวของลูกน้อยให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการคลอด แต่แพทย์อาจใช้เครื่องมือช่วยคลอดสำหรับกรณีนี้ได้

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังทำให้เคลื่อนไหวได้ลำบากและคุณแม่อาจรู้สึกหนาวสั่น นอกจากนี้ ความดันโลหิตอาจลดลง ดังนั้น คุณแม่จะได้รับน้ำเกลือเพื่อแก้ไขภาวะความดันโลหิตต่ำ แพทย์อาจใส่สายสวนปัสสาวะซึ่งเป็นท่อเล็กๆ คาไว้ในกระเพาะปัสสาวะ เพราะโดยปกติแล้วหลังจากคลอดลูก คุณแม่จะมีปัญหาในการลุกจากเตียงไปเข้าห้องน้ำ เมื่อผลของฤทธิ์ยาหมดแล้ว แพทย์จะถอดสายสวนปัสสาวะออก ผลข้างเคียงจากการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังที่พบได้น้อยมากคือ อาการปวดศีรษะ มาก แต่สามารถรักษาให้หายได้โดยง่าย

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังแบบเคลื่อนไหวได้
วิธีนี้เป็นวิธีที่ค่อนข้างใหม่และสามารถลดอาการเจ็บปวดในระหว่างการคลอดลูกได้เป็นอย่างดี ต่างกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังทั่วไป ตรงที่คุณแม่จะยังคงมีความรู้สึกที่ส่วนขา ซึ่งช่วยลดความจำเป็นในการใช้เครื่องมือช่วยคลอด ลงได้เนื่องจาก คุณแม่สามารถเบ่งคลอดได้ดีขึ้น

การฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังแบบเคลื่อนไหวได้สามารถทำได้เช่นเดียวกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังแบบเดิม คุณแม่อาจได้รับการฉีดยาก่อนเข้าสู่ระยะแรกของการเจ็บครรภ์ ซึ่งโดยทั่วไปเป็นยาที่เป็นส่วนผสมของยาระงับความรู้สึกและยาลดอาการปวดหลายชนิด และ ต่างกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังแบบเดิมตรงที่มีผลข้างเคียงเพียงอย่างเดียวคือ อาจทำให้เกิดอาการคันบ้างเล็กน้อย



 เทคนิคการฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง (CSE)

หากคุณต้องการระงับอาการปวดอย่างรวดเร็ว แต่ยังต้องการเคลื่อนไหวได้อยู่ วิธีนี้สามารถช่วยคุณได้ การระงับปวดด้วยวิธี CSE จะใช้ในระยะแรกของการเจ็บครรภ์ โดยแพทย์จะฉีดยาแก้ปวดเข้าช่องน้ำไขสันหลังพร้อมกับฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง เมื่อฤทธิ์ของยาที่ฉีดเข้าช่องน้ำไขสันหลังหมดฤทธิ์ แพทย์จะฉีดยาชาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังเพื่อให้คุณแม่ปราศจากความเจ็บปวด เทคนิค CSE มีผลข้างเคียงเช่นเดียวกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลังแบบเดิม แต่สามารถลดอาการเจ็บปวดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลัง ( การระงับความรู้สึกเฉพาะที่ )

วิธีนี้เหมาะที่สุดสำหรับคุณแม่ที่ไม่ต้องการรู้สึกถึงการหดรัดตัวของมดลูกหรือความเจ็บปวดในระยะที่สองของการเจ็บครรภ์ โดยเฉพาะถ้าจะต้องมีการใช้เครื่องมือช่วยคลอด ในบางครั้งแพทย์จะ ฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลังในระยะแรกของการเจ็บครรภ์ร่วมกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง

เมื่อคุณแม่เลือกใช้วิธีการฉีดยา เข้าช่องน้ำไขสันหลัง แพทย์จะใช้เข็มขนาดเล็กมากฉีดยาชาเข้าไปในช่องน้ำไขสันหลัง อาการปวดจะหมดไปโดยทันทีเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แต่ไม่สามารถให้ยาซ้ำอีกได้ จึงเป็นเหตุให้แพทย์มักใช้วิธีฉีดยาเข้าช่องน้ำไขสันหลังร่วมกับการฉีดยาเข้าช่องเหนือช่องน้ำไขสันหลัง ( ซึ่งมีผลข้างเคียงคล้ายกัน ) เพื่อให้แน่ใจว่าคุณแม่จะคลอดลูกโดยไม่เจ็บปวด



 ที่มา / แหล่งอ้างอิง


http://www.dumex.co.th/pregnancy/labour_and_birth/articl/what_are_my_birthing_options
http://www.dumex.co.th/pregnancy/labour_and_birth/article/im_so_nervous_about_the_birth

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขณะตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไร



สำหรับท่านสุภาพสตรีที่คิดว่าจะมีบุตรนั้นมักจะมีประวัติขาดประจำเดือนมาก่อน และตามด้วยอาการของคนตั้งครรภ์ อาการของคนตั้งครรภ์แต่ละคนจะไม่เหมือนกันมากบ้างน้อยบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีครบ อาการที่พบบ่อยได้แก่

อาการขาดประจำเดือน

ส่วนใหญ่จะสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ต่อเมื่อขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนเลื่อนออกไป บางท่านอาจจะมีเลือกออกกระปริดกระปอยในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่เลือกออกไม่มากเหมือนประจำเดือน แต่สำหรับท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ท่านอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว คงต้องอาศัยอาการอื่นด้วย




อาการแพ้ท้อง

อาการคลื่นไส้อาเจียนหรือที่เรียกว่าอาการแพ้ท้อง มักเกิดในระยะแรกของการตั้งครรภ์โดยมากจะเกิดในช่วง2- 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ พอเข้าสู่ไตรมาสสองอาการแพ้ท้องจะหายไป บางท่านอาจจะแพ้กลิ่นหรืออาหารบางประเภท เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการที่ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง อาการของอาการแพ้ท้องมีอะไรบ้าง
  • คลื่นไส้อาเจียนหลังจากดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ขาดน้ำ
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เกลือแร่ในร่างกายอาจผิดปกติ

     

 

       การดูแลตนเอง

  • รับประทานอาหารว่างที่มีโปรตีนสูง
  • งดอาหารที่มีไขมันหรือใยอาหารสูงรับประทานอาหารที่มีแป้งสูง
  • ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ
  • ให้รับประทานอาหารบนเตียงตอนตื่นนอนเนื่องจากการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีรสดี
  • อย่าให้ท้องว่างเพราะท้องว่างจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุนๆ
  • งดดื่นน้ำผลไม้ กาแฟ แอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำขิงอาจจะบรรเทาอาการ

        ถ้ามีอาการมากน้ำหนักตัวลดมาก

  • แพทย์จะให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน 
  • ให้น้ำเกลือเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียน





การฝากครรภ์

ว่าที่คุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อน การตั้งครรภ์เพื่อประเมินว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษอะไรบ้าง แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัวโรคทางกรรมพันธุ์ ยาที่ใช้ ประวัติการแท้ง การคลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อวางแผนการรักษา แต่ในความเป็นจริงมักมาฝากครรภ์ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรจะรีบฝากครรภ์เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
เมื่อท่านฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะประวัติ การเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัว  ประวัติการเจ็บป่วยของสามี ยาที่ใช้อยู่หรือใช้เป็นครั้งคราว และทดสอบการตั้งครรภ์


การตรวจร่างกาย

แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายในเพื่อวัดขนาดของมดลูกเพื่อประเมินอายุครรภ์ ตรวจวัดความกว้างของช่องเชิงกรานว่ากว้างพอจะคลอดเองได้หรือไม่ ตรวจหามะเร็งปากมดลูก

 

เรามีวิดีโอท่านอนของว่าที่คุณแม่มาให้ชมกันค่ะ







การเปลี่ยนระหว่างการตั้งครรภ์



อายุครรภ์คืออะไร

 เมื่อประจำเดือนขาด คนท้องมักจะถามว่า "ท้องกี่เดือน" " เมื่อไรจะคลอด" ความจริงก็คือถามอายุครรภ์นั้นเอง อายุครรภ์คืออายุของเด็กที่ยังไม่คลอด นับตั้งแต่วันแรกของรอบเดือนสุดท้ายจนคลอดโดยปกติใช้เวลา 40 สัปดาห์ก็คือวันคลอดนั้นเอง

ประโยชน์ของอายุครรภ์

 บางท่านแบ่งอายุครรภ์ออกเป็น 3 ไตรมาศ ไตรมาศละ 3 เดือนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนตรวจเลือด และติดตามการเจริญเติบโตของเด็กรวมทั้งการเฝ้าติดตามโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์

การคำนวณอายุครรภ์

              เราสามารถทราบอายุครรภ์ได้ 3 วิธี คือ
1. หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอให้นับวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นวันเริ่มต้นของการตั้งครรภ์  วันคลอดให้นับไป 40 สัปดาห์
2. การตรวจภายในวัดขนาดของมดลูกสามารถบอกอายุครรภ์ได้แต่ไม่แม่นยำ
3. การตรวจ ultrasound สามารถตรวจอายุครรภ์ได้ตั้งแต่อายุ 5-6 สัปดาห์ขึ้นไป แต่จะบอกได้ดีที่อายุครรภ์ 8-18 สัปดาห์หลังจากนั้นจะบอกไก้ไม่แม่นยำ 
 4. การคำนวนอายุครรภ์



การตั้งครรภ์และการออกกำลังกาย

หากไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายควรได้ออกกำลังกายเพราะ สุขภาพของคุณแม่ดี น้ำหนักเพิ่มไม่มาก หลังคลอดน้ำหนักจะลดเร็ว อารมณ์จะดีและหลับง่าย ลดอาการท้องผูก ปวดหลัง เส้นเลือดขอด


ข้อแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย

เป็นการยากว่าจะออกกำลังแค่ไหนถึงพอดี แต่มีคำแนะนำให้ ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายที่เคยออกกำลังกายให้ออกกำลังกายเหมือนก่อนการตั้ง ครรภ์ แต่ต้องปรับความแรงของการออกกำลังกาย ให้ลดลงรวมทั้งระยะเวลาที่ออกกำลังก็ให้ลดลง สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายก็ให้ค่อยๆเริ่ม ส่วนท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อนเช่น คลอดก่อนกำหนด แท้ง ความดันโลหิตสูง หรือมีเลือดออก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย การออกแต่ละครั้งควรอย่าให้เหนื่อยมากเกินไป อย่าออกจนหายใจหอบ แต่ต้องระวังเนื่องจากการตั้งครรภ์จะทำให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป และอาจจะได้รับอันตรายที่เกิดกับข้อเนื่องจากเอ็นจะหย่อน คำแนะนำต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับแม่และลูก
  • ถ้าหากคุณเคยออกกำลังมาก่อนก็ให้ออกกำลังต่อโดยปรับความแรงและระยะเวลาที่ออกให้น้อยลง
  • ถ้าหากคุณไม่เคยออกกำลังแนะนำให้ค่อยๆออกกำลังย่าหักโหม
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • อย่าออกกำลังจนเหนื่อยมาก หรือหัวใจเต้นเกิน 140 ครั้งต่อนาที
  • อย่าออกกำลังจนหายใจเหนื่อยหอบ นั้นย่อมแสดงว่าคุณขาด oxygen บุตรคุณก็จะขาดด้วย
  • ต้องเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสมคือมีแผ่นรองผ่าเท้า และ กันเข้าเท้า
  • ต้องใส่ยกทรงที่สามารถรองรับน้ำหนักเต้านมได้
  • ให้หยุดพักระหว่างการออกกำลังบ่อยๆและดื่มน้ำมากๆ
  • ระหว่างออกกำลังให้หมั่นจับชีพขจรอย่าให้เกิน 140 ครั้ง
  • อย่าออกกำลังในที่ๆอากาศร้อน ฤดูร้อนให้ออกกำลังเวลาเช้าหรือเย็น
  • การยกน้ำหนักควรเน้นกล้ามเนื้อช่วงบนและกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง ไม่ควรยกน้ำหนักเกินศีรษะเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมากไป
  • หลังจากตั้งครรภ์เกิน 4 เดือนไปแล้วไม่ควรออกกำลังกายท่านอนเพราะมดลูกจะกดเส้นเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง
  • ไม่ควรยืนนานเกินไปเพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง
  • ควรมีการ warm upก่อนออกกำลังกาย  cool down หลังออกกำลังกาย ควรมีการบริหารแบบ stretching ทุกครั้งที่มีการออกกำลังกาย
  • ให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย ผัก ผลไม้ 

 

 การออกกำลังที่ไม่ควรทำสำหรับคนท้อง

  • เล่นสกีไม่ว่าจะเป็นหิมะ หรือน้ำ
  • การดำน้ำ
  • ขี่ม้า
  • การออกกำลังกายอย่างมาก
  • การออกกำลังที่มีการก้ม

วิธีการออกกำลังที่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง

  • การเดิน
  • การขี่จักรยาน ควรเป็นจักรยานที่อยู่กับที่มากกว่า
  • การเต้น aerobic ในน้ำ
  • การเต้น aerobic แบบเบาๆ
  • ว่ายน้ำ
  • การบริหารแบบยืดเส้น
  • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

ขั้นตอนการออกกำลังที่ดีสำหรับคนท้องควรเป็นอย่างไร

  1. มีการ warm up 5-10 นาที
  2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาทีโดยออกแบบเบาๆ เช่นการเดิน การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้น aerobic ในน้ำ เป็นต้น
  3. ออกกำลังอย่าให้หัวใจเต้นเกิน 140 ครั้ง
  4. หลังออกกำลังกายให้ cool down อีก 5-10 นาที

คุณควรหยุดการออกกำลังกายเมื่อไร

  • ปวดท้อง
  • เลือดออก
  • หน้ามืด เป็นลม
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เดินลำบาก

กล้ามเนื้อกลุ่มไหนที่คุณควรออกกำลังให้แข็งแรง

  1. กล้ามเนื้อหน้าท้องซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักเมื่อครรภ์แก่ขึ้น
  2. กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งจะทำให้คลอดสะดวก มีอาการปัสสาวะเร็ดน้อย
  3. กล้ามเนื้อหลังซึ่งจะทำให้ลดอาการของปวดหลังและหลังไม่โก่ง

การออกกำลังซึ่งจะทำให้การคลอดสะดวก

เป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การออกกำลังกายนี้จะช่วยให้ช่องคลอดขยายได้ง่าย ลดการฉีกขาดของฝีเย็บ ลดอาการของปัสสาวะเร็ด วิธีการออกกำลังกล้ามเนื้อกลุ่มนี้สามารถทำได้ง่ายโดยที่ไม่มีใครทราบ วิธีการคือการขมิบหรือการกลั้นปัสสาวะ มีการขมิบครั้งละ 5-10 วินาทีแล้จึงผ่อนคลาย ทำวันละหลายๆครั้ง
Tailor Exercises 
เป็นการบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการคลอดประกอบด้วยท่าต่างๆดังนี้
  1. Tailor Sitting 

  • นั่งบนพื้น
  • ดึงเท้ามาชิดลำตัว ข้อเท้าไข้วกัน
  • นั่งท่านี้ตราบเท่าที่ยังสามารถนั่งได้
  1. Tailor Press 

  • นั่งบนพื้น
  • ผ่าเท้าทั้งสองประกบกัน ดึงเท้าเข้าชิดลำตัว
  • มือทั้งสองข้างสอดใต้เข่า
  • ให้เข่าทั้งสองข้างกดลงบนมือขณะที่มือออกแรงต้านโดยกดลงเป็นเวลา 3 วินาทีจึงผ่อนคลาย
  • ให้ทำซ้ำๆกัน 10 ทีต่อครั้ง ทำวันละ 2 ครั้ง
   
 


 
    3. Tailor Sitting and Stretching 
  • นั่งหลังตรง
  • เหยียดเท้าออกไป ปลายเท้าห่างกันประมาณ 1 ฟุต
  • เหยียดแขนทั้งสองข้างไปเท้าซ้ายแล้วดึงกลับมา
  • เหยียดแขนทั้งสองข้างไปตรงกลางแล้วดึงกลับมา
  • เหยียดแขนทั้งสองข้างไปเท้าขวาแล้วดึงกลับมา
  • แต่ละครั้งทำ 10 ที ทำวันละ 2 ครั้ง


ที่มา / แหล่งอ้างอิง








วันพฤหัสบดีที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การเตรียมตัวก่อนจะเป็นว่าที่ คุณแม่


หลังจากที่แต่งงานมาแล้วคุณพ่อคุณแม่หลาย ๆ คู่ก็คงจะคิดถึงการมีลูกกันใช่ไหมค่ะ เราก็มี 4 เรื่อง การเตรียมตัวก่อนมีลูกมาฝากคุณพ่อคุณแม่กันด้วย ซึ่งการเตรียมตัวก่อนมีลูกถือเป็นสิ่งที่ดีต่อเจ้าตัวเล็ก ๆ มากจริง ๆ ค่ะ เพราะเราจะมั่นใจไปกว่าครึ่งแล้วว่าลูกน้อยของเราจะลืมตาออกมาดูโลกภายนอก ด้วยความแข็งแรงและสมบูรณ์ ฉะนั้นแล้วเรื่อง การเตรียมตัวก่อนมีลูก จึงมีส่วนสำคัญมิใช่น้อยค่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่า 4 เรื่อง การเตรียมตัวก่อนมีลูกนี้มีอะไรกันบ้าง





4 เรื่องของการเตรียมตัวก่อนมีลูก



 1. พื้นฐานของเม็ดเลือด ดูว่าพ่อและแม่มีเลือดกรุ๊ปใด เข้ากันได้หรือไม่ เพราะบางคนพ่อแม่จะมีกรุ๊ปเลือดที่ไม่เข้ากันซึ่งจะมีผลต่อความเสี่ยงต่อ การเกิดโรค เช่น เด็กแรกเกิดที่มีภาวะตัวเหลืองจากโลหิตจางซึ่งเกิดจากกรุ๊ปเลือดของพ่อแม่ ไม่เข้ากับลูก

นอกจากนี้ยังมีเลือดกลุ่มพิเศษ RH ซึ่งพบได้น้อย แต่ว่ากรุ๊ปพิเศษนี้จะมีอันตรายที่ว่า ถ้าคุณแม่เป็น RH- คุณพ่อจะต้องไม่เป็น RH+ เพราะลูกที่เกิดมาอาจจะมีภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติจนอาจเสียชีวิตได้


2. ความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ดูว่าเป็นคุณพ่อคุณแม่มีเม็ดเลือดจางเป็นพาหะหรือเป็นทาลัสซีเมียหรือไม่


 3. ป่วยเป็นโรคติดเชื้อหรือไม่ ได้แก่ โรคเอดส์ โรคซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบบี ถ้าคุณแม่ยังไม่มีภูมิคุณหมอจะเริ่มฉีดให้ค่ะ โดยฉีด 3 เข็ม เข็มแรกจะฉีดทันที เข็มที่ 2 เว้นไป 1 เดือนและเข็มสุดท้ายเว้นไป 6 เดือน ระหว่างนี้คุณแม่สามารถตั้งท้องได้ค่ะ

หัดเยอรมัน ถ้าคุณแม่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันก็ต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และเว้นระยะไป 3 เดือนจึงจะสามารถตั้งครรภ์ได้


 4. สุขภาพทั่วไป เช่น น้ำหนัก ส่วนสูง เช็กการได้ยินของหู สายตา จมูก ช่องปาก อวัยวะภายในช่องท้อง รวมถึงการตรวจภายในของทั้งผู้หญิงและผู้ชายด้วย (แม้จะเคยตรวจมาตอนก่อนแต่งงานคุณหมอมักจะเว้นการตรวจภายในสำหรับผู้หญิง ดังนั้นตรวจใหม่อีกรอบก็ดี)







ความพร้อมทางด้านสุขภาพ


สุขภาพของคุณพ่อและคุณแม่มีผลต่อสุขภาพทารก ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ที่วางแผนตั้งครรภ์ต้องรักษาสุขภาพให้ดี เพราะอวัยวะของเด็กเริ่มก่อตัวตั้งปฏิสนธิจนถึง4สัปดาห์  วิธีการเพื่อให้สุขภาพดีมีดังนี้

  1. ให้รับประทานกรดโฟลิกวันละ 400 มิลิกรัมทุกวันก่อนการตั้งครรภ ์และให้รับประทานต่อในช่วงต้นของการรับประทานเนื่องจากช่วงนี้สมอง และประสาทไขสันหลังเด็กมีการเจริญเติบโตอย่างมาก นอกจากนั้นจะต้องรับประทานอาหารสุขภาพ อาหารที่อุดมไปด้วยกรดโฟลิกซึ่งได้แก่ ผักใบเขียว
  2. ตรวจร่างกายก่อนการตั้งครรภ์ แพทย์จะตรวจสุขภาพของท่านให้แข็งแรง อธิบายผลของการตั้งครรภ์ต่อสุขภาพ ตรวจว่ายาที่ท่านรับประทานจะมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่ ตรวจว่าฉีดวัคซีนครบหรือไม่ ตรวจว่าท่านมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์หรือไม่
  3. รับประทานอาหารสุขภาพ รักษาน้ำหนักให้เหมาะสม และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงน้ำตาล อาหารมัน กาแฟ หากท่าน้ำหนักเกินจะทำให้การตั้งครรภ์ลำบาก สำหรับคนผอมจะตั้งครรภ์ง่ายกว่า ท่านสามารถตรวจสอบว่าอ้วนหรือไม่ สำหรับท่านที่ออกกำลังอยู่แล้วก็สามารถออกกำลังต่อแต่ท่านอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ถึงวิธีการออกกำลังกายอย่างปลอดภัย
  4. หยุดการสูบบุหรี่ และหลีกเลี่ยงสถานที่มีการสูบบุหรี่ เนื่องจากบุหรี่จะทำให้ท่านตั้งครรภ์ยากและส่งผลเสียต่อทารกจากการวิจัยพบ ว่าบุหรี่ทำให้ทารกเจริญเติบโตช้า ท่านควรจะหยุดบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์
  5. หยุดดื่มสุรา เบียร์ เหล้าเพราะการดื่มสุราจะทำให้แท้ง และมีผลต่อการพัฒนาของเด็ก
  6. หยุดยาเสพติดเพราะยาเสพติดอาจจะทำให้แท้ง คลอดก่อนกำหนด มีผลต่อการพัฒนาของเด็ก
  7. หลีกเลี่ยงการติดเชื้อ การติดเชื้อบางชนิดอาจจะส่งผลต่อเด็กในท้อง ให้ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่สุก เนื้อสัตว์หรือไข่ต้องทำให้สุก ผักและผลไม้ต้องล้างให้สะอาด หลีกเลี่ยงสัตว์เลี้ยงพวกหนู หลีกเลี่ยงพวกแมวและอุจาระเพราะในอุจาระจะมีเชื้อ toxoplasmosis ซึ่งมีผลต่อเด็กในครรภ์ หลีกเลี่ยงเด็กที่เป็นหวัด ระวังโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  8. หลีกเลี่ยงสารเคมีที่อาจจะอันตรายต่อเด็กในครรภ์ เช่นยาฆ่าแมลง สารเคมี
  9. เรียนรู้เกี่ยวกับโรคทางพันธุกรรมเช่น หลีกเลี่ยงจากความเครียด





การวางแผนทางการเงิน

การมีลูกสักคนต้องมีรายจ่ายค่อนข้างมาก ดังนั้นก่อนที่จะมีบุตรคู่สามีและภรรยาต้องมานั่งวางแผนทางการเงินให้เรียบ ร้อยก่อน ปัจจัยที่ต้องคำนึงถึงมีอะไรบ้าง

     การมีบุตรสักคนจะมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง

  • การมีบุตรจะมีผลต่อรายได้อย่างไรบ้าง
  • การมีบุตรจะมีผลต่อรายจ่ายอย่างไรบ้าง
  • ตรวจสอบนโยบายบริษัทเกี่ยวกับการหยุดงานช่วงการคลอด
  • ตรวจสอบกรมธรรม์ประกันชีวิตว่าครอบคลุมการใช้จ่ายเกี่ยวกับการคลอดแค่ไหน และครอบคลุมถึงเด็กด้วยหรือไม่
  • เริ่มต้นนิสัยการประหยัดได้แล้ว 
  • หากยังไม่ประกันชีวิต ให้ทำเพื่อคุ้มครองชีวิตและความพิการ
เมื่อคุณมีลูกน้อยสิ่งที่โตพร้อมลูกน้อยก็คืองบการเงินซึ่งจะต้องมีค่าใช้จ่ายที่สามารถทราบล่วงหน้า และค่าใช้จ่ายที่ไม่สามารถคาดเดาได้ดงนั้นจึงต้องจัดทำบัญชีเพื่อการวางแผน

      จัดทำบัญชีรายรับรายจ่าย

  • ให้คุณจัดทำรายจ่ายทั้งหมด ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ ค่าผ่อนบ้าน ค่าประกันชีวิต ค่าอาหาร ค่าเครื่องแต่งตัว ค่าน้ำมัน อื่นอีกมากมาย แล้วไปเปรียบเทียบกับรายรับในแต่ละเดือน ว่าเหลือเงินเท่าใด ส่วนที่เหลือนี้พอเหลือเก็บหรือไม่ พอที่จะสะสมให้ลูกหรือไม่ เมื่อทราบรายรับรายจ่ายแล้วคุณก็คงจะมีแนวทางที่จะตัดรายจ่ายอะไรบ้าง และมีหนทางที่จะเพิ่มรายได้อย่างไร ปริมาณเท่าใด แต่อย่าลืมสะสมส่วนหนึ่งไว้สำหรับเรื่องที่ไม่คาดฝัน และสะสมเพื่อการศึกษาของลูก
  • จัดซื้อของใช้สำหรับเด็ก จัดงบสำหรับซื้อของใช้ของจำเป็นสำหรับเด็ก หากคุณมีงบจำกัดต้องจัดอันดับความสำคัญก่อน และให้ตรวจดูว่ามีพี่น้องหรือคนรู้จักได้ตั้งครรภ์ก่อนหน้านี้หรือไม่ หากมีก็สามารถหยิบยืมมาใช้ เพราะเด็กโตเร็ว
  • ให้ตรวจสอบประกันชีวิตให้ตรวจสอบประกันชีวิตว่าครอบคลุมอะไรบ้าง หากประกันชีวิตไม่ครอบคลุมควรจะซื้อเพิ่ม
  • ครอบคลุมการฝากครรภ์หรือไม่
  • ครอบคลุมการคลอดหรือไม่
  • ครอบคลุมค่าใช้จ่ายสำหรับเด็กหรือไม่ 
  • มีการชดเชยรายได้ระหว่างคลอดลูกหรือไม่






การวางแผนการตั้งครรภ์

สำหรับว่าที่คุณพ่อก็ต้องดูแลสุขภาพให้แข็งแรง งดสุรา บุหรี่ สารเสพติดทั้งหลาย หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และควรจะงดรวมเพศก่อนวันไข่ตกสักสามสี่วันเพื่อให้มีปริมาณเชื้อมากพอ
สำหรับ ว่าที่คุณแม่ก็ต้องตรวจสุขภาพก่อนที่จะตั้งครรภ์ ทำตารางประจำเดือนเพื่อที่จะให้ทราบว่าประจำเดือนเดือนสุดท้ายมาวันที่เท่าไรเพื่อที่จะคำนวณว่าครบกำหนดคลอดเมื่อ ไร หากนับจากวันที่มีประจำเดือนครั้งสุดท้ายครบกำหนดคลอดก็ประมาณ 40 สัปดาห์ หากนับจากวันปฏิสนธิก็จะครบกำหนดคลอดประมาณ 38 สัปดาห์ แต่เนื่องจากเราไม่ทราบว่าปฏิสนธิเมื่อไรเราจึงใช้วันที่ประจำเดือนสุดท้าย ประวัตินี้สำคัญเพราะแพทย์จะได้รู้อายุครรภ์ที่ถูกต้อง
  

จะมีเพศสัมพันธ์วันไหนถึงจะมีโอกาสตั้งครรภ์สูง

หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอ 28 วันวันที่ไข่สุกประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน หรือประจำเดือนไม่แน่ก็อาจจะใช้อาการที่ไข่สุก หรืออาจจะใช้วัดไข้ทุกเช้าก็ได้ ที่สำคัญคือหากทราบวันไข่ตกก็ให้มีเพศสัมพันธ์ประมาณ1-2วันก่อนไข่ตก




ท่าของการมีเพศสัมพันธ์จะมีผลต่อการตั้งครรภ์หรือไม่

จากข้อมูลยังไม่มีการชี้ชัดว่าท่าร่วมเพศจะมีผลต่อ การตั้งครรภ์หรือไม่ แต่คงจะไม่ต้องพิศดารมากมาย เพียงท่าปกติผู้ชายอยู่บน และให้นอนพัก 15 นาทีหลังมีเพศสัมพันธ์ สำหรับผู้ชายที่มีอวัยวะสั้นก็ไม่ต้องกังวลเพราะก็สามารถตั้งครรภ์ได้ เหมือนคนทั่วไป





ผู้หญิงวัยเจริญพันธ์เมื่อประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน(รอบละ 28 วัน)ไข่ในท่อรังไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะได้รับการปฏิสนธิ รังไข่จะสร้างฮอรฺโมน Estroge Progesterone ทำให้มดลูกมีเยื่อบุที่พร้อมจะได้รับการฝังตัวของทารก ไข่ที่ตกจะพร้อมที่จะมีการปฏิสนธิใน 12-24 ชั่วโมงเมื่อเชื้อของผู้ชายหรือตัว sperm ถูกปล่อยเข้าในช่องคลอดเป็น 250 ล้านตัว ตัวที่แข็งแรงและว่ายได้เร็วจะผ่านไปยังปากมดลูก เข้าสู่มดลูก และไปเกิดปฏิสนธิที่ท่อรังไข่ ณ.ที่แห่งนี้การกำเนิดตัวอ่อนได้เริ่มขึ้น ตัวอ่อนที่แบ่งตัวจะเคลื่อนมาฝังตัวที่เยื่อบุมดลูก และเจริญเป็นทารก
ตัวอ่อนจะเคลื่อนตัวไปยังท่อรังไข่กลายเป็นตัวอ่อนที่เรียกว่า blastocyst ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มเซลล์สองกลุ่ม คือกลุ่มด้านใน inner cell mass ซึ่งจะกลายเป็นตัวอ่อน ส่วนเซลล์กลุ่มด้านนอกจะกลายเป็น ถุงน้ำคล่ำ และรก เมื่อเซลล์เคลื่อนมาถึงมดลูกซึ่งใช้เวลา 3-4 วันในการเดินทาง เซลล์ตัวอ่อนจะออกมาและเกาะที่รกกลายเป็นตัวอ่อน ประมาณสัปดาห์ที่5 เซลล์กลุ่มด้านในจะกลายเป็นทารก จะเริ่มพัฒนาสมอง ประสาทไขสันหลัง ระบบไหลเวียนโลหิตเริ่มพัฒนา หัวใจเด็กจะเริ่มเต้น จะมีหลอดเลือดแดงและดำเพื่อติดต่อกับแม่ ประมาณสัปดาห์ที่เก้า เริ่มมีนิ้วเท้า จมูก หู













          เมื่อเชื้อผสมกับไข่







                                                
                                                                                          

                                           ตัวอ่อนระยะเวลา 1 วัน
 











ตัวอ่อนระยะเวลา17-20วัน
 






 



                                                                     
                                                                                            







                                                                                       ตัวอ่อนระยะ28-32 วัน
 

















    

ตัวอ่อนระยะเวลา37-42 วัน




วิดีโอระยะการเจริญเติบโตของเด็กในครรภ์มารดา







 ที่มา / แหล่งอ้างอิง :