วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ขณะตั้งครรภ์ ควรทำอย่างไร



สำหรับท่านสุภาพสตรีที่คิดว่าจะมีบุตรนั้นมักจะมีประวัติขาดประจำเดือนมาก่อน และตามด้วยอาการของคนตั้งครรภ์ อาการของคนตั้งครรภ์แต่ละคนจะไม่เหมือนกันมากบ้างน้อยบ้าง ไม่จำเป็นต้องมีครบ อาการที่พบบ่อยได้แก่

อาการขาดประจำเดือน

ส่วนใหญ่จะสงสัยว่าตัวเองตั้งครรภ์ก็ต่อเมื่อขาดประจำเดือน หรือประจำเดือนเลื่อนออกไป บางท่านอาจจะมีเลือกออกกระปริดกระปอยในช่วงที่ตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก แต่เลือกออกไม่มากเหมือนประจำเดือน แต่สำหรับท่านที่ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ ท่านอาจจะตั้งครรภ์โดยไม่รู้ตัว คงต้องอาศัยอาการอื่นด้วย




อาการแพ้ท้อง

อาการคลื่นไส้อาเจียนหรือที่เรียกว่าอาการแพ้ท้อง มักเกิดในระยะแรกของการตั้งครรภ์โดยมากจะเกิดในช่วง2- 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ พอเข้าสู่ไตรมาสสองอาการแพ้ท้องจะหายไป บางท่านอาจจะแพ้กลิ่นหรืออาหารบางประเภท เชื่อว่าอาการแพ้ท้องเกิดจากการที่ร่างกายของหญิงตั้งครรภ์ มีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนที่สูงทำให้กระเพาะอาหารมีการบีบตัวน้อยลง อาการของอาการแพ้ท้องมีอะไรบ้าง
  • คลื่นไส้อาเจียนหลังจากดื่มน้ำหรือรับประทานอาหาร
  • น้ำหนักลด
  • ขาดน้ำ
  • ปัสสาวะสีเข้ม
  • เกลือแร่ในร่างกายอาจผิดปกติ

     

 

       การดูแลตนเอง

  • รับประทานอาหารว่างที่มีโปรตีนสูง
  • งดอาหารที่มีไขมันหรือใยอาหารสูงรับประทานอาหารที่มีแป้งสูง
  • ให้รับประทานอาหารครั้งละน้อยๆแต่บ่อยๆ
  • ให้รับประทานอาหารบนเตียงตอนตื่นนอนเนื่องจากการเคลื่อนไหวจะทำให้เกิดอาการคลื่นไส้อาเจียน
  • เลือกรับประทานอาหารที่มีรสดี
  • อย่าให้ท้องว่างเพราะท้องว่างจะทำให้เกิดคลื่นไส้อาเจียน
  • หลีกเลี่ยงกลิ่นฉุนๆ
  • งดดื่นน้ำผลไม้ กาแฟ แอลกอฮอล์ระหว่างรับประทานอาหาร
  • ดื่มน้ำขิงอาจจะบรรเทาอาการ

        ถ้ามีอาการมากน้ำหนักตัวลดมาก

  • แพทย์จะให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียน 
  • ให้น้ำเกลือเพื่อแก้คลื่นไส้อาเจียน





การฝากครรภ์

ว่าที่คุณแม่ที่วางแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์ก่อน การตั้งครรภ์เพื่อประเมินว่าจะต้องดูแลเป็นพิเศษอะไรบ้าง แพทย์จะซักประวัติโรคประจำตัวโรคทางกรรมพันธุ์ ยาที่ใช้ ประวัติการแท้ง การคลอดบุตรก่อนกำหนด เพื่อวางแผนการรักษา แต่ในความเป็นจริงมักมาฝากครรภ์ หลังจากทราบว่าตั้งครรภ์แล้ว ควรจะรีบฝากครรภ์เมื่อทราบว่าตั้งครรภ์
เมื่อท่านฝากครรภ์ครั้งแรก แพทย์จะประวัติ การเจ็บป่วยในอดีต โรคประจำตัว ประวัติการเจ็บป่วยของครอบครัว  ประวัติการเจ็บป่วยของสามี ยาที่ใช้อยู่หรือใช้เป็นครั้งคราว และทดสอบการตั้งครรภ์


การตรวจร่างกาย

แพทย์จะวัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก ตรวจปัสสาวะ ตรวจภายในเพื่อวัดขนาดของมดลูกเพื่อประเมินอายุครรภ์ ตรวจวัดความกว้างของช่องเชิงกรานว่ากว้างพอจะคลอดเองได้หรือไม่ ตรวจหามะเร็งปากมดลูก

 

เรามีวิดีโอท่านอนของว่าที่คุณแม่มาให้ชมกันค่ะ







การเปลี่ยนระหว่างการตั้งครรภ์



อายุครรภ์คืออะไร

 เมื่อประจำเดือนขาด คนท้องมักจะถามว่า "ท้องกี่เดือน" " เมื่อไรจะคลอด" ความจริงก็คือถามอายุครรภ์นั้นเอง อายุครรภ์คืออายุของเด็กที่ยังไม่คลอด นับตั้งแต่วันแรกของรอบเดือนสุดท้ายจนคลอดโดยปกติใช้เวลา 40 สัปดาห์ก็คือวันคลอดนั้นเอง

ประโยชน์ของอายุครรภ์

 บางท่านแบ่งอายุครรภ์ออกเป็น 3 ไตรมาศ ไตรมาศละ 3 เดือนเพื่อประโยชน์ในการวางแผนตรวจเลือด และติดตามการเจริญเติบโตของเด็กรวมทั้งการเฝ้าติดตามโรคแทรกซ้อนที่จะเกิดในแต่ละช่วงของการตั้งครรภ์

การคำนวณอายุครรภ์

              เราสามารถทราบอายุครรภ์ได้ 3 วิธี คือ
1. หากประจำเดือนมาสม่ำเสมอให้นับวันแรกของประจำเดือนครั้งสุดท้ายเป็นวันเริ่มต้นของการตั้งครรภ์  วันคลอดให้นับไป 40 สัปดาห์
2. การตรวจภายในวัดขนาดของมดลูกสามารถบอกอายุครรภ์ได้แต่ไม่แม่นยำ
3. การตรวจ ultrasound สามารถตรวจอายุครรภ์ได้ตั้งแต่อายุ 5-6 สัปดาห์ขึ้นไป แต่จะบอกได้ดีที่อายุครรภ์ 8-18 สัปดาห์หลังจากนั้นจะบอกไก้ไม่แม่นยำ 
 4. การคำนวนอายุครรภ์



การตั้งครรภ์และการออกกำลังกาย

หากไม่มีข้อห้ามเกี่ยวกับการออกกำลังกาย ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายควรได้ออกกำลังกายเพราะ สุขภาพของคุณแม่ดี น้ำหนักเพิ่มไม่มาก หลังคลอดน้ำหนักจะลดเร็ว อารมณ์จะดีและหลับง่าย ลดอาการท้องผูก ปวดหลัง เส้นเลือดขอด


ข้อแนะนำเกี่ยวกับการออกกำลังกาย

เป็นการยากว่าจะออกกำลังแค่ไหนถึงพอดี แต่มีคำแนะนำให้ ว่าที่คุณแม่ทั้งหลายที่เคยออกกำลังกายให้ออกกำลังกายเหมือนก่อนการตั้ง ครรภ์ แต่ต้องปรับความแรงของการออกกำลังกาย ให้ลดลงรวมทั้งระยะเวลาที่ออกกำลังก็ให้ลดลง สำหรับผู้ที่ไม่เคยออกกำลังกายก็ให้ค่อยๆเริ่ม ส่วนท่านที่มีโรคประจำตัว หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ครั้งก่อนเช่น คลอดก่อนกำหนด แท้ง ความดันโลหิตสูง หรือมีเลือดออก ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการออกกำลังกาย การออกแต่ละครั้งควรอย่าให้เหนื่อยมากเกินไป อย่าออกจนหายใจหอบ แต่ต้องระวังเนื่องจากการตั้งครรภ์จะทำให้ศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป และอาจจะได้รับอันตรายที่เกิดกับข้อเนื่องจากเอ็นจะหย่อน คำแนะนำต่อไปนี้เป็นคำแนะนำเพื่อความปลอดภัยสำหรับแม่และลูก
  • ถ้าหากคุณเคยออกกำลังมาก่อนก็ให้ออกกำลังต่อโดยปรับความแรงและระยะเวลาที่ออกให้น้อยลง
  • ถ้าหากคุณไม่เคยออกกำลังแนะนำให้ค่อยๆออกกำลังย่าหักโหม
  • ออกกำลังอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง
  • อย่าออกกำลังจนเหนื่อยมาก หรือหัวใจเต้นเกิน 140 ครั้งต่อนาที
  • อย่าออกกำลังจนหายใจเหนื่อยหอบ นั้นย่อมแสดงว่าคุณขาด oxygen บุตรคุณก็จะขาดด้วย
  • ต้องเลือกรองเท้าอย่างเหมาะสมคือมีแผ่นรองผ่าเท้า และ กันเข้าเท้า
  • ต้องใส่ยกทรงที่สามารถรองรับน้ำหนักเต้านมได้
  • ให้หยุดพักระหว่างการออกกำลังบ่อยๆและดื่มน้ำมากๆ
  • ระหว่างออกกำลังให้หมั่นจับชีพขจรอย่าให้เกิน 140 ครั้ง
  • อย่าออกกำลังในที่ๆอากาศร้อน ฤดูร้อนให้ออกกำลังเวลาเช้าหรือเย็น
  • การยกน้ำหนักควรเน้นกล้ามเนื้อช่วงบนและกล้ามเนื้อหน้าท้องให้แข็งแรง ไม่ควรยกน้ำหนักเกินศีรษะเพราะจะทำให้กล้ามเนื้อหลังทำงานมากไป
  • หลังจากตั้งครรภ์เกิน 4 เดือนไปแล้วไม่ควรออกกำลังกายท่านอนเพราะมดลูกจะกดเส้นเลือดทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง
  • ไม่ควรยืนนานเกินไปเพราะจะทำให้เลือดไปเลี้ยงมดลูกน้อยลง
  • ควรมีการ warm upก่อนออกกำลังกาย  cool down หลังออกกำลังกาย ควรมีการบริหารแบบ stretching ทุกครั้งที่มีการออกกำลังกาย
  • ให้รับประทานอาหารที่อุดมไปด้วย ผัก ผลไม้ 

 

 การออกกำลังที่ไม่ควรทำสำหรับคนท้อง

  • เล่นสกีไม่ว่าจะเป็นหิมะ หรือน้ำ
  • การดำน้ำ
  • ขี่ม้า
  • การออกกำลังกายอย่างมาก
  • การออกกำลังที่มีการก้ม

วิธีการออกกำลังที่ปลอดภัยสำหรับคนท้อง

  • การเดิน
  • การขี่จักรยาน ควรเป็นจักรยานที่อยู่กับที่มากกว่า
  • การเต้น aerobic ในน้ำ
  • การเต้น aerobic แบบเบาๆ
  • ว่ายน้ำ
  • การบริหารแบบยืดเส้น
  • การบริหารกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน

ขั้นตอนการออกกำลังที่ดีสำหรับคนท้องควรเป็นอย่างไร

  1. มีการ warm up 5-10 นาที
  2. มีการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่อง 20-30 นาทีโดยออกแบบเบาๆ เช่นการเดิน การขี่จักรยาน ว่ายน้ำ เต้น aerobic ในน้ำ เป็นต้น
  3. ออกกำลังอย่าให้หัวใจเต้นเกิน 140 ครั้ง
  4. หลังออกกำลังกายให้ cool down อีก 5-10 นาที

คุณควรหยุดการออกกำลังกายเมื่อไร

  • ปวดท้อง
  • เลือดออก
  • หน้ามืด เป็นลม
  • หัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
  • เดินลำบาก

กล้ามเนื้อกลุ่มไหนที่คุณควรออกกำลังให้แข็งแรง

  1. กล้ามเนื้อหน้าท้องซึ่งจะช่วยรับน้ำหนักเมื่อครรภ์แก่ขึ้น
  2. กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานซึ่งจะทำให้คลอดสะดวก มีอาการปัสสาวะเร็ดน้อย
  3. กล้ามเนื้อหลังซึ่งจะทำให้ลดอาการของปวดหลังและหลังไม่โก่ง

การออกกำลังซึ่งจะทำให้การคลอดสะดวก

เป็นการออกกำลังของกล้ามเนื้ออุ้งเชิงกราน การออกกำลังกายนี้จะช่วยให้ช่องคลอดขยายได้ง่าย ลดการฉีกขาดของฝีเย็บ ลดอาการของปัสสาวะเร็ด วิธีการออกกำลังกล้ามเนื้อกลุ่มนี้สามารถทำได้ง่ายโดยที่ไม่มีใครทราบ วิธีการคือการขมิบหรือการกลั้นปัสสาวะ มีการขมิบครั้งละ 5-10 วินาทีแล้จึงผ่อนคลาย ทำวันละหลายๆครั้ง
Tailor Exercises 
เป็นการบริหารกล้ามเนื้อที่ใช้ในการคลอดประกอบด้วยท่าต่างๆดังนี้
  1. Tailor Sitting 

  • นั่งบนพื้น
  • ดึงเท้ามาชิดลำตัว ข้อเท้าไข้วกัน
  • นั่งท่านี้ตราบเท่าที่ยังสามารถนั่งได้
  1. Tailor Press 

  • นั่งบนพื้น
  • ผ่าเท้าทั้งสองประกบกัน ดึงเท้าเข้าชิดลำตัว
  • มือทั้งสองข้างสอดใต้เข่า
  • ให้เข่าทั้งสองข้างกดลงบนมือขณะที่มือออกแรงต้านโดยกดลงเป็นเวลา 3 วินาทีจึงผ่อนคลาย
  • ให้ทำซ้ำๆกัน 10 ทีต่อครั้ง ทำวันละ 2 ครั้ง
   
 


 
    3. Tailor Sitting and Stretching 
  • นั่งหลังตรง
  • เหยียดเท้าออกไป ปลายเท้าห่างกันประมาณ 1 ฟุต
  • เหยียดแขนทั้งสองข้างไปเท้าซ้ายแล้วดึงกลับมา
  • เหยียดแขนทั้งสองข้างไปตรงกลางแล้วดึงกลับมา
  • เหยียดแขนทั้งสองข้างไปเท้าขวาแล้วดึงกลับมา
  • แต่ละครั้งทำ 10 ที ทำวันละ 2 ครั้ง


ที่มา / แหล่งอ้างอิง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น