วันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

และแล้วก็ถึงเวลาที่รอคอยกัน...การคลอดลูก


ก่อนคลอด เรื่องที่คุณแม่ท้องแรกมักจะกังวลใจ หนึ่งในหลายๆ เรื่องคือเรื่องการคลอดนั่นเอง บ้างได้ยินมาว่าตอนคลอดจะเจ็บมาก คลอดลำบาก ต้องมีท่าทางในการคลอด ต่างๆ นานา ซึ่งการจะคลอดลูกง่ายหรือยากนั้น จริงๆ แล้วมีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง เป็นเรื่องที่คุณแม่ท้องแรกควรทราบอย่างยิ่งค่ะ

ปัจจัยแรก

ขึ้นอยู่กับอุ้งเชิงกรานของคุณแม่ว่ามีขนาดได้มาตรฐานหรือไม่ หากเล็กไปการคลอดก็จะยากขึ้น อย่างไรก็ดี ก่อนคลอดแพทย์ก็จะวัดขนาดของกระดูกอุ้งเชิงกรานในช่วงอายุครรภ์ของแม่แล้ว ซึ่งพอจะบอกได้ว่าขนาดของอุ้งเชิงกรานใช้ได้หรือไม่ หากมีปัญหา แพทย์ที่ทำการคลอดจะได้หาหนทางแก้ไขต่อไป


ปัจจัยที่สอง

ขึ้นอยู่กับขนาดของทารก หากทารกมีขนาดใหญ่มากกว่า 3,500 กรัม การคลอดก็จะยากขึ้นหรืออาจคลอดตามธรรมชาติไม่ได้ เพราะจะมีความเสี่ยงมาก แพทย์อาจจะพิจารณาวิธีผ่าคลอดให้แม่เป็นทางเลือก


อยากคลอดง่ายทำไงดี

- ควรพยายามดูแลตัวเองให้รู้สึกผ่อนคลาย ไม่เครียด เช่น อาบน้ำอุ่น พักผ่อนมากขึ้น หรืออาจใช้กระเป๋าน้ำร้อนวางประคบหลังเพื่อช่วยคลายปวด แต่ไม่ควรกินยาแก้ปวด

-
ไม่ควรอั้นปัสสาวะนานๆ การที่กระเพาะปัสสาวะว่าง จะมีผลช่วยให้การคลอดเป็นไปได้ด้วยดี เนื่องจากไม่เกิดอุปสรรค์กีดขวางการหดรัดตัวของกล้ามเนื้อมดลูก

-
หากรู้สึกหิว ควรรับประทานอาหารอ่อนๆ หรืออาหารว่างเบา ๆ ไม่ควรทานอาหารหนักเต็มมื้อ เนื่องจากอาหารเหล่านี้จะใช้เวลาในการย่อยนาน ยิ่งหากมีกรณีฉุกเฉินเกิดขึ้นระหว่างการคลอด จะเป็นอุปสรรคในการให้ยาระงับความรู้สึก เช่น ไม่สามารถให้ยาสลบได้

-
ควรใช้เวลาที่พักระหว่างการเจ็บครรภ์อย่างคุ้มค่า โดยการนอนให้นิ่งและสงบอารมณ์ เพื่อเก็บพลังไว้ใช้ในการคลอด

-
หากคุณแม่ยังสามารถลุกเดินได้ อาจจะลุกเดินรอบ ๆ เตียงบ้างก็ได้ หรือขยับตัวเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้ร่างกายได้ผ่อนคลายจากการเกร็งตัว

-
หากรู้สึกว่าต้องการระงับอาการปวด ควรบอกแพทย์หรือพยาบาลที่ดูแล

-
พยายามควบคุมการหายใจเข้า ออก ตามวิธีที่พยาบาลในห้องคลอดแนะนำ ซึ่งจะช่วยให้คุณแม่สบายขึ้น

 









บริหารร่างกายให้คลอดง่าย

การ บริหารร่างกายก่อนการคลอดเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้คุณแม่คลอดง่าย ทั้งยังช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของคุณแม่แข็งแรง และช่วยคลายอาการปวดเมื่อยอีกด้วย เรามาดูกันดีกว่าว่าคุณแม่ต้องบริหารร่างกายอย่างไรบ้าง


1. บริหารกล้ามเนื้อขา สะโพกและข้อเท้า

เป็นท่าที่ช่วยให้การไหลเวียนของเลือดบริเวณขา สะโพก และเท้าของคุณแม่ดีขึ้น
โดย การนั่งพิงหมอน เหยียดขาตรง วางมือข้างลำตัว กระดกเท้าทั้งสองข้างขึ้นลงสลับกัน โดยให้ส้นเท้าวางอยู่กับที่ ขณะกระดกเท้าขึ้นหายใจเข้าลึก ๆ และหายใจออกเมื่อกดปลายเท้าลง ทำวันละ
8 - 10 ครั้งค่ะ

จากนั้นนั่งท่าเดียวกัน กด ปลายเท้าลง หมุนปลายเท้าและข้อทั้งสองข้างเป็นวงกลม ให้ส้นเท้าอยู่กับที่ ไม่งอเข่าค่ะ โดยหมุนปลายเท้าเข้าหาตัวเอง เมื่อครบรอบแล้วปลายเท้าจะอยู่ในลักษณะกระดกขึ้น แล้วให้หมุนปลายเท้าออกเมื่อครบรอบ ปลายเท้าจะอยู่ในลักษณะกดลง ทำสลับกัน 8 - 10 ครั้งค่ะ


2. บริหารกล้ามเนื้อต้นขา

เป็นท่า ที่ช่วยให้กล้ามเนื้อต้นขายืด ขยาย มีความแข็งแรงมากขึ้น โดยการนั่งขัดสมาธิวางฝ่ามือตรงเข่า หายใจเข้าหลังตรง และหายใจออกทำ 8 - 10 ครั้ง จากนั้นนั่งขัดสมาธิประกบฝ่าเท้าทั้งสองข้าง ดึงส้นเท้าชิดตัว มือทั้งสองรองอยู่ใต้หัวเข่า เท้าชิดตัว ใช้มือทั้งสองที่สอดใต้เข่าทั้งสองข้างดันเข่าพร้อมกับสูดลมหายใจเข้า แล้วเปลี่ยนเป็นใช้ฝ่ามือกดเข่าลงช้า ๆ พร้อมกับหายใจออก ทำ 8 - 10 ครั้ง


3. บริหารกล้ามเนื้อสีข้าง

ช่วย ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อสีข้าง ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และหายใจได้สะดวกขึ้นค่ะ โดยการนั่งขัดสมาธิ ชูมือขวาขึ้นเหนือศีรษะให้มากที่สุด หลังยืดตรง เอียงตัวมาทางซ้ายให้มากที่สุดพร้อมหายใจเข้า กลับมานั่งตรงตามเดิม และหายใจออกสลับข้างเป็นยกมือข้างซ้าย ทำเช่นเดียวกัน 8 - 10 ครั้ง


4. บริหารกล้ามเนื้อช่องคลอดอุ้งเชิงกราน และฝีเย็บ

ช่วย ให้ฝีเย็บยืดขยายสามารถควบคุมได้ง่าย โดยการขมิบ และคลายกล้ามเนื้อรอบ ๆ ช่องคลอด ทวารหนัก และช่องปัสสาวะ ขณะขมิบให้หายใจเข้า และขณะคลายให้หายใจออก


5. บริหารกล้ามเนื้อหลัง หน้าท้อง สะโพก และต้นขาด้านหลัง

ช่วย ให้กล้ามเนื้อแข็งแรง และบรรเทาอาการปวดหลัง โดยการที่คุณแม่อยู่ในท่าคลาน แขนเท้าพื้นเหยียดตรง หายใจเข้าพร้อมกับโก่งหลังขึ้น ก้มศีรษะ แล้วหายใจออกพร้อมกับแอ่นหลังลงและยกศีรษะขึ้น


6. บริหารกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างหน้าท้องและอุ้งเชิงกราน

เป็น ท่าที่มีประโยชน์สำหรับการคลอดเพราะช่วยให้กล้ามเนื้อส่วนล่างยืดขยายและมี ความยืดหยุ่น ทั้งยังลดอาการปวดหลังได้ดี โดยการนอนหงายกับพื้น ชันเข่าแยกขาห่างจากกันเล็กน้อย วางแขนทั้งสองข้างชิดลำตัวสูดหายใจเข้า กลั้นไว้พร้อมกับเกร็งกล้ามเนื้อสะโพก ต้นขา และหน้าท้อง แอ่นหลังขึ้น โดยไหล่และสะโพกแนบติดพื้น หายใจออกช้า ๆ พร้อมกับกดหลังให้ติดพื้นตามเดิม

คุณแม่ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สบายตัว เคลื่อนไหวได้สะดวก และอยู่ในห้องที่มีอากาศถ่ายเท นอกจากนี้ การบริหารครั้งแรกควรทำเพียง 10 - 5 นาที วันละ 1 - 2 ท่า เพื่อให้ร่างกายได้ปรับตัว หลังจากนั้นค่อยเพิ่มเป็นวันละ 30 - 40 นาที วันละ 4 - 5 ท่า แต่ถ้าหากคุณแม่รู้สึกเหนื่อยต้องรีบหยุดทันทีนะคะ



 วิดีโอคลอดแบบธรรมชาติ



วิดีโอการคลอดลูกแบบผ่าตัด



 

ข้อควรปฏิบัติของสตรีหลังการคลอดบุตร

ตั้งแต่สตรีเริ่มตั้งครรภ์จนกระทั่งคลอดบุตร จะมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายแก่สตรีผู้นั้น ทั้งทางร่างกายและจิตใจ เมื่อต้องทำหน้าที่ในการดูแลสุขภาพสตรีหลังคลอดบุตร ให้แข็งแรง จะต้องแนะนำการปฏิบัติตนให้ถูกต้องด้วย
          1.หลังการคลอดบุตรโดยธรรมชาติ สตรีหลังคลอดบุตรควรจะใช้ผ้าพันรัดหน้าท้องตลอด เวลา จะใส่ด้วยยาสมุนไพรที่หน้าท้องด้วยก็ได้ เป็นการกระชับหน้าท้องและ ป้องกันมดลูกไม่ให้ห้อยย้อย แต่กลับเข้าอู่ได้เร็ว ในรายที่คลอดบุตรด้วยการ ผ่าออกทางหน้าท้องไม่ควรทำ ให้อยู่ในวินิจฉัยของแพทย์
          2.ควรดื่มน้ำมะขามเปียกใส่เกลือทุกวัน เพื่อป้องกันท้องผูก เพราะความบอบช้ำจากการคลอดบุตร แผลบริเวณฝีเย็บ ทำให้ให้ขับถ่ายลำบาก
          3.สตรีหลังคลอดบุตรควรจะนอนพักผ่อนให้มาก ไม่ควรนั่งหรือเดินมาก และควรเดินช้างๆ ก้าวสั้นๆ แบบขาต่อขา เพื่อมิให้กระทบกระเทือนมดลูก แผลที่ปากช่องคลอดและรอยฝีเย็บ
          4.ห้ามสระผมตลอดระยะเวลาที่อยู่ในเรือนไฟ (30 – 40 วัน) เพราะต่อมใต้สมองจะต้องสั่งการในการขับของเสีย เช่น น้ำคาวปลา การสระผมทำให้อุณหภูมิในร่างกายลดลง ระบบการไหลเวียนโลหิตก็ช้าลง หลังคลอดร่างกายต้องการความอบอุ่นมาก จึงควรงดเว้นการสระผมเพื่อมิให้เกิดผลเสียขึ้นภายหลัง การที่น้ำคาวปลาไม่ ไหล อาจทำให้เลือดตีย้อนกลับ เป็นโรคประดงเลือดหรือระบบน้ำเหลืองเสียได้ ถ้า อาการคันศีรษะหรือมีกลิ่นเหม็น ให้ใช้แป้งฝุ่นสำหรับทารกโรยที่โคนผม แล้ว แปรงหวีให้ทั่วศีรษะ เป็นการสระแห้ง ซึ่งในสมัยโบราณก็ใช้แป้งดินสอพองโรย ทั่วศีรษะแล้วหวีผมเช่นกัน
           5.ต้องอาบน้ำอุ่นเสมอ จะใช้น้ำต้มกับตะไคร้ หรือใบแจง หรือใบสาวหลง เพื่อให้ร่างกายมีกลิ่นหอม ไม่มีกลิ่นคาวหลงเหลืออยู่
           6.ทุกครั้งที่มีการปัสสาวะหรือถ่ายอุจจาระ ควรจะล้างทำความสะอาดไปทางด้านหลัง ไม่ควรล้างมาด้านหน้า เพราะจะทำให้เปื้อนแผลที่ปากช่องคลอด นอกจากสกปรกแล้วยังทำให้ติดเชื้อได้ อีกด้วย
           7.ต้องทำความสะอาดบริเวณช่องคลอดด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรค หรือนั่งแช่น้ำอุ่นที่ละลายด่างทับทิมวันละ 2-3 ครั้ง แล้วเช็ดให้แห้งด้วยสำลี
           8.ต้องทำความสะอาดหัวนม และบริเวณเต้านมด้วยทุกครั้ง ทั้งก่อนและหลังจากที่ให้ลูกดูดนม ถ้ามีน้ำนมมากควรให้ลูกได้ดูด หรือปั๊มออกใส่ขวดไว้ เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างน้ำนม และป้องกันการปวด คัดที่เต้านม ถ้าปวดตึงเต้านมมากพยายามอดทนแล้วหายใจเข้าลึก ๆ ยาว ๆ และหายใจออก ทำอย่างช้าจะลดอาการได้บ้าง หากทนไม่ไหว ทานยาพาราเซตามอน 1 เม็ดก็ได้
           9.อาหารของสตรีหลังคลอดควรเป็นอาหารที่มีประโยชน์ทั้งมารดาและทารก ควรคำนึ่งถึงตลอดเวลา เพราะอาหารบางชนิดอาจทำให้ทารกท้องเสียได้
         10.การห้นมแก่ทารก ต้องอยู่ในท่าที่เหมาะสม สะดวกในการดื่มนม สร้างความอบอุ่นให้แก่ทารกด้วยสัมผัสจากผู้เป็นแม่ และไม่เกิดอันตรายแก่ทารก เช่น ทำให้หายใจไม่สะดวก หรือเกิดการสำลักได้ การให้ลูกดื่มนมทันทีที่แม่มีน้ำนมและแข็งแรง สร้างความผูกพันระหว่างแม่กับลูกอย่างมาก และช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วด้วย
1        11.สตรีหลังการคลอดบุตร ควรจะได้รับการดูแลสุขภาพด้วยการอยู่ไฟ การประคบ การนวด การนาบหม้อเกลือ การเข้ากระโจม และอื่น ๆ ให้ครบทุกขั้นตอน
          12.สตรีหลังการคลอดบุตร ควรบริหารร่างกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป ไม่หักโหม เพื่อให้คืนสภาพร่างกายเป็นปกติ
          13.หลังการคลอดบุตร ควรนอนคว่ำโดยหาหมอนนิ่ม ๆ รองบริเวณหน้าท้อง เพื่อช่วยให้มดลูกเข้าอู่เร็วขึ้น ถ้าคลอดโดยการผ่าตัดหน้าท้องให้อยู่ใน ดุลยพินิจของแพทย์
    14.ให้ดื่มน้ำอุ่นมาก ๆ โดยจะต้องนั่งดื่มเท่านั้น และดื่มทุกครั้งหลังจากการให้นมแก่ลูก เพื่อเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำในร่างกาย รวมทั้งการดื่มน้ำหลังจากทำการนวด ประคบ อบสมุนไพร หรือกิจกรรมใด ๆ ที่เป็นการดูแลสุขภาพหลังการคลอดบุตรทุกอย่า

 ที่มา / แหล่งอ้างอิง


http://women.sanook.com/mom-baby/newmom/newmom_16349.php
http://www.nitikathailand.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538685732&Ntype=3
http://www.youtube.com/watch?v=nryr4SSP0ec&feature=related
http://www.youtube.com/watch?v=RGF4pzGfvM4&feature=related

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น